[สรุปเนื้อหา] เทรนด์ Social Media ปี 2024 (Backed by Data) จากงาน Wisesight Unboxed โดยคุณต่อ Wisesight
* ข้อมูลหลายๆ ส่วน Backed by Data, เนื้อหาโคตรยาว (Speaker Rap แล้ว แต่นิ้วผมเร็วกว่า 😉)
** ถ้าชอบเนื้อหา Digital Marketing, Inbound Marketing, Content Marketing & Martech ดีๆ ลึกๆ ย่อยมาให้เสพง่ายๆ ไปติดตามต่อได้ที่ Content Shifu ครับ
ปี 2023 มีอะไรน่าสนใจบน Social Media บ้าง?
Short-Form Video
– จำนวนผู้ใช้ TikTok เพิ่มขึ้น 70% (by TikTok)
– IG Reel from Branded Content เพิ่มขึ้น 19% (2023)
– Short-Form Video ที่มาแรกคือคลิปตลก (37%) คลิปสัตว์ (10%) คลิปเต้น (7%) คลิปเพลง (6%) คลิปพากิน (6%) คลิปเด็ก (6%) คลิปทำอาหาร (5%) คลิปคนหน้าตาดี (3%)
– 34% ของคลิปที่ได้รับความนิยมสูงมีความยาวมากกว่า 1 นาที
– เหตุผลที่คนชอบ Short-Form (จาก Social Listening) คือ สนุก ตลก บันเทิง เสพความสวย ความหล่อ ได้สาระความรู้ ตามกระแส เพลิดเพลินจนลืมดูเวลา
– เหตุผลที่คนไม่ชอบ Short-Form (จาก Social Listening) คือ เนื้อหาที่นำเสนอไม่ตรงกับสิ่งที่ชอบ ไม่อยากเสียเวลา กลัวสมาธิสั้น ไม่ชอบโฆษณาขายของ การพนัน เนื้อหาสั้นโดยไม่ได้ใจความ
– Content is King ยังคงเป็นเรื่องถูกต้อง Content สำคัญกว่า Format
– คอนเทนต์ไทยดังไกลถึงต่างประเทศเลย
– Short-Form Video เป็นประตูบานแรกที่คนจะสนใจแบรนด์ แต่สิ่งที่จะทำให้ผู้บริโภคไปต่อกับแบรนด์ ต้องมีคอนเทนต์อื่นประกอบด้วย
– Way Forward 1. Bite-size but ‘bigger’ (ไม่จำเป็นต้องจำกัดอยู่ที่ 1 นาที) 2. Focus on Content (ลองทำ Long-Form แต่ใช้วิธีการเหมือน Short-Form มาต่อกันดู) 3. Borderless Entertainment (โอกาสที่ดีที่จะส่งคอนเทนต์ไปต่างประเทศอย่างไร้พรมแดน)
Social & Live Commerce
– ทุกๆ Social Platform ประกาศว่าจะขายของ เพราะฉะนั้นทุก Platform จะมีระบบสนับสนุนพ่อค้าแม่ค้า
– คนกว่า 29.9% ซื้อของออนไลน์ และ 26.6% ดู Live Stream และในปี 2023 ที่ผ่านมา Live Stream โตขึ้น 15 เท่า
– ช่องทางที่มีการ Live มากที่สุดคือ Facebook (38%), TikTok (27%) & Shopee (20%)
– Live ทำให้ผู้บริโภคสนุก ตลก คลายเหงาได้ (คนชอบ Live ที่ 1. สนุก ตลก ดูเพลิน 2. เสพความจิ้น 3. ได้สาระความรู้ 4. 2-way Communication 5. มีโปรโมชัน ส่วนลด)
– Key Driver ของ Social Commerce คือ Affiliate Marketing
– การไลฟ์ ต้องเตรียมคอนเทนต์ให้ดี ต้องสนุก ถ้าผู้บริโภคมีความสุข แบรนด์ก็จะสนุกกับยอดขาย
– Way Forward 1. Understand “Live” Culture (เข้าใจคน & Platform) 2. Experience is King (ใส่ใจรายละเอียด ใส่ความคิดสร้างสรรค์) 3. AI-Powered (การใช้ AI ช่วยตอบ ช่วยคุย ช่วยทำงานได้)
The Age of the Creator
– (J)Influencer (จิ้นฟลูเอนเซอร์) และ Virtual Influencer มาแรง
– คู่จิ้นได้รับ Engagement ในปีที่ผ่านมาถึง 1,237 ล้านครั้ง มีข้อความทั้งมด 4 ล้านข้อความ (ข้อมูลจากคู่จิ้น 40 คู่ และข้อมูลจาก Social Media Q1-3/2023)
– แบรนด์ที่ใช้คู่จิ้นมีความหลากหลายขึ้น แต่ที่ใช้มากที่สุดคือ Cosmetics, E-Commerce Platform, Delivery & Logistics, Food & Snack & Skincare
– คู่หญิง-หญิงมาแรงแซงทุกจิ้น (อิงฟ้า-ชาล็อต (257 ล้าน Engagement) และฟรีน-เบ๊กกี้ (157 ล้าน Engagement) มาแรงมากๆ)
– การใช้คู่จิ้นส่งเสริมภาพลักษณ์เรื่อง LGBTQ+ ด้วย
– สิ่งที่ต้องระวังคือ Fanclub คือรักแรง แต่เกลียดแรงกว่า (Fanclub ยังมีสติ พร้อมตำหนิและแบนได้เหมือนกัน)
– คู่จิ้นยังได้ไปต่อปี 2024 แน่นอน โดยที่คู่หญิง-หญิงน่าจับตามอง
– Way Forward 1. Be mindful Digital Footprint (ก่อนใช้ใครให้รีวิวความหลัง) 2. Clear Objective & ROI (มีเป้าหมายและวัดผลชัดเจน) 3. Leverage Fandom Power (ใช้พลังของ Fandom ด้วย)
– Virtual Influencer มี 2 แบบคือ AI Influencer และ VTuber (Virtual YouTuber ที่ข้างหลังเป็นคนจริงๆ แต่เอาตัวการ์ตูนมาใช้)
– AI Influencer ปีนี้คนพูดถึงลดลง มีแค่ 132 ข้อความและมี Engagement 9 พันครั้ง (แต่ก็ไม่กล้า Confirm ว่าจะไม่ได้ไปต่อ เพราะ GenAI อาจจะช่วย Enhance ให้ไปต่อได้)
– VTuber เติบโตขึ้นมากในปีที่ผ่านมา โดยที่ 2022 มี 21 ล้าน Engagement และ 2023 มี 35 ล้าน Engagement
– #VTuberThai บน TikTok มี 1,170 ล้านวิว (เป็น Niche แต่ก็เป็น Niche ที่ใหญ่)
– VTuber สามารถ Go from Online สู่ Offline ได้ (คือนัด Meetup แล้วไปดูจอกัน)
– VTuber to Artist ก็เป็นอันที่น่าสนใจ หรือจะไลฟ์ขายของก็ได้
– AI Influencer อาจจะต้องรอดูทิศทางในปี 2024 แต่ VTuber มีอิทธิพลต่อผู้บริโภคจริงๆ
– สำหรับโลกของ Creator ปีที่ผ่านมามี From Online to Onlife และ From Audience to Fandom เช่นเฮียวิท, Farose และ Untitled Case
– สิ่งที่ต่างจาก Creator ธรรมดาๆ & และ Creator สร้าง Fandom คือ Audience ของ Fandom ยอมรับโฆษณาของ Creator คนนั้นๆ
– สำหรับ Creator ถ้าจะไปได้ดี ต้องหาหัวหน้าด้อมให้เจอ และสนับสนุน
– Way Forward 1. Connected with Sub-culture (เช่น Anime/Manga) 2. Virtual Character Real Connection (คิดเรื่องความรู้สึกของคนดูด้วย) 3. Extended to New Experience (ถ้า AR/VR/Metaverse มา VTuber อาจจะเป็นหัวหอก)
Sustainability
– มากกว่า 2,000 แบรนด์ในไทยพูดถึงเรื่องสิ่งแวดล้อมในปีที่ผ่านมา
– แบรนด์ส่วนใหญ่พูดถึงเรื่อง Green Product, Circular Economy, ESG Investing
– มีแบรนด์แค่ 50% เท่านั้นที่ทำการสื่อสารเรื่องเหล่านี้อย่างต่อเนื่อง (มากกว่า 5 โพสต์ต่อปี)
– Conflict of Consumer: รักษ์โลกนะแต่ไม่รักหลอดกระดาษ / ไม่รับถุง = ช่วยโลกหรือช่วยแบรนด์ / เหลี่ยมทุกดอก… แล้วบอกรักษ์โลก (เช่นบริษัท Smart Phone ไม่แถมสายชาร์จ)
– การรักษ์โลกเป็นเรื่องสำคัญ แต่ยังสำคัญน้อยกว่า Personal Benefits
– กลุ่มคนที่ใหญ่ที่สุดคือ Slacktivism (รู้แหละว่าดี แต่ถ้าให้ทำขอดูก่อน เพราะเหนื่อย เพราะยาก) เพราะฉะนั้น Convenient Green สำคัญ (ทำยังไงให้ทำง่าย)
– รักษ์โลก จริงใจ ต่อเนื่อง ตอบโจทย์ แล้วแบรนด์จะได้ประโยชน์จาก Green Marekting
– Way Forward 1. Authentic Green (จริงใจ จริงจัง) 2. Convenient Green (ทำให้มันง่าย) 3. Green Skill (หาคนที่เข้าใจเรื่องนี้)
– เพจ Scale – Fill the well, scale the world พูดถึงเรื่องนี้ ไปตามกันได้นะฮะ แล้วก็เราตามหา Founding Supporter อยู่ด้วย Corporate ไหนสนใจ ทักมาได้นะครับ 🙂
Social Consumer Trend ในปี 2024
– เราอยู่ในยุค Polarization (K-Shape of Everything – คนมีก็มี คนไม่มีก็ไม่มีเลย / ความเห็นต่างสุดขั้ว) ได้แก่เรื่อง Economy vs Luxury, Tech vs Human และ Woke vs Anti-Woke
– Economy vs Luxury จะมีคนที่รอซื้อของจากโปรโมชันเสมอ ไม่ซื้อราคาเต็ม หรือถ้าไม่สำคัญก็จะไม่ซื้อ กลับกัน ก็จะมีเคสต์ที่ iPhone/Samsung ขายดี Omakase จองเต็มตลอดเวลา
– Tech vs Human เราจะเห็น AI ที่ใครๆ ก็ใช้ได้ แต่เริ่มมีกระแสตีกลับของ AI ที่เอา AI ละเมิดลิขสิทธิ์ Research ของ Global Web Index มีทั้งคนที่รู้สึก Excited & Worried
– Woke vs Anti-Woke เรื่อง 1 เรื่องจะมีซ้ายขวาเสมอ ถ้ามีคน Trigger เรื่องอีกฝั่งมา ดราม่าอาจจะเกิดได้ ซึ่งปีที่ผ่านมาเป็น The Rising of Anti-Woke (เช่นคนที่ต่อต้านการ Woke ของ Disney) รวมไปถึง Power “Inequality” ก็ส่งผล เช่นเรื่อง Money, Age & Gender, Social, Physical (เรื่องพวกนี้เกิดดราม่าง่ายมาก)
– What’s Next? 1. Find Your Sweet Spot (พยายาม Balance สิ่งต่างๆ) 2. Focus on Objective (ดูว่าเป้าหมายในการทำ Social Media ของคุณคืออะไร – มองว่า Social Media เป็น Amplifier ได้ แต่อย่าลืมลูกค้าของเรา) 3. Focus on Resource (อย่าลืมย้อนกลับมามองดูว่าเราถนัดอะไร ต้องทำอะไร อย่างอื่นก็ค่อยหาคนช่วย)
* เนื้อหาสรุปจาก Session What’s Next on Social Media: Borrow an Insight from 2023 to Ace 2024's Challenge