วิธีก้าวข้ามความแตกต่างของ Generation Gap ในเรื่อง Leadership

Featured Image Generation Gap

สัปดาห์ที่แล้ว ผมไปงาน People Performance Conference 2024 มา และได้มีโอกาสไปนั่งฟังและนั่งสรุปมา 1 Session ในหัวข้อ “วิธีก้าวข้ามความแตกต่างของ Generation Gap ในเรื่อง Leadership” โดยคุณไอติม พริษฐ์ วัชรสินธุ

เลยอยากเอาที่สรุปไว้มาใส่ไว้ในบทความนี้ครับ

Generation Gap เกิดจากอะไร

– ปัญหานี้เจอได้ทุกแวดวง ไม่ว่าจะเป็นการทำงาน การเมือง หรือที่บ้าน

– Generation Gap คือช่องว่างระหว่างรุ่น ไม่ใช่ช่องว่างระหว่างวัย (Age Gap)

– ถ้าดูผิวเผินคือคนที่อายุต่างกัน มีความคิดต่างกัน แต่จริงๆ แล้วมันไม่ใช่ แต่ Generation Gap คือคนที่เติบโตมาในแต่ละยุค แต่ละสมัย จะมีความเชื่อแตกต่างกันไป จากประสบการณ์และสภาพแวดล้อมที่เติบโตขึ้นมา
– ยิ่งโลกเปลี่ยนแปลงเร็วเท่าไหร่ Generation Gap จะยิ่งขยายกว้างขึ้นเท่านั้น

– คุณสันติธาร เสถียรไทย เคยพูดเปรียบเทียบได้ว่า ลองจินตนาการดูว่าเวลาไปต่างประเทศ เราจะไม่รู้แปลกประหลาด ถ้าพวกเขามีพฤติกรรมที่ไม่เหมือนเรา ซึ่งถ้าเราเอามุมมองนี้มามองคนที่อยู่ต่างรุ่นกัน น่าจะทำให้เข้าใจถึงความแตกต่างได้ดีขึ้น

วิธีการบริหารความแตกต่างระหว่างรุ่น

– พยายามมี Empathy ลองมีความเห็นอกเห็นใจ พยายามเอาใจเขามาใส่ใจเรา

– ต้องอย่าเหมารวมว่าคนรุ่นนี้ต้องเป็นแบบนี้แบบนั้นทั้งหมด

– ให้ความสำคัญกับการพัฒนาทักษะในการทำงานร่วมกับคนต่างรุ่น

– อย่าทำให้ Generation Gap มันกลายมาเป็น Generation War หรือสงครามระหว่างรุ่น (วิธีการคือทำให้พื้นที่ต่างๆ เป็นพื้นที่ที่ปลอดภัยสำหรับคนทุกรุ่น ทำให้คนทุกรุ่นมีส่วนร่วม)

– สุดท้ายเราอาจจะไม่ได้ทุกอย่างที่เราต้องการ แต่ถ้าได้มีการพูดคุยและรับฟังกันแล้ว อาจจะทำให้เรายอมรับสิ่งต่างๆ ได้มากขึ้น

คุณไอติมเป็นคน Gen Y แล้วการทำงานกับคน Gen X & Baby Boomer มีเคสที่น่าสนใจมาเล่าบ้างไหม?

– ตอนเรียนอยู่ที่ Oxford แล้วได้มีโอกาสทำงานในสมาคมของมหาลัย ก็จะมีการ Crash กันของความเห็นกับคนที่อยู่มาเป็นสิบๆ ปีอยู่บ้าง เช่นสมาคมต้องการหาสมาชิกเพิ่มแล้วใช้วิธีการประชาสัมพันธ์ผ่านเมล จดหมาย แต่คุณไอติมเห็นว่าการโปรโมตผ่าน Facebook น่าสนใจกว่า ตอนแรกเขาก็ไม่เข้าใจ แต่หลังจากที่คุณไอติมได้ทำ Presentation ไปเสนอ พวกเขาก็เข้าใจมากขึ้น

– เคยทำงานในบริษัท Management Consult แล้วได้ทำงานกับผู้บริหารโรงพยาบาลในมาเลเซีย (ที่มีลูกสาวอายุเท่าคุณไอติม) ก็มี Challenge ในช่วงแรกๆ แต่ก็พยายามฉายภาพว่าเหมือนทีมฟุตบอล ถ้าเขาเป็นกองหน้า เราเป็นกองหลัง ไม่ต้องลงมาไล่บอลเอง เราไม่ได้มาแทนที่เขา แต่ช่วยให้เขาทำงานได้มีประสิทธิภาพขึ้น

– เรื่องการเมือง สิ่งที่ค้นพบตอนรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง เวลาไปเจอประชาชนที่ไม่เห็นด้วย ก็เรียนรู้วิธีการสื่อสารกับคนที่ไม่เห็นด้วยและอายุต่างกัน ตัวอย่างที่น่าสนใจคือของไต้หวัน ที่คิดว่า Grab ควรผิดกฏหมาย แต่ตอนทำโพล คำตอบที่ได้คือเท่าๆ กัน (คิดว่าควรผิดครึ่ง ไม่ควรผิดครึ่ง) เขาก็เลยลองเปลี่ยนคำถามใหม่คือขนส่งสาธารณะต้องเป็นยังไง ข้อมูลที่ได้ก็ตรงกันว่าต้องไม่มีการผูกขาด ราคาไม่สูง แล้วพวกเขาก็ใช้ผลโพลนี้ในการดำเนินการทำนโยบายต่อ

สกิลสำคัญในการจัดการเรื่อง Generation Gap

– พยายามทำความเข้าใจอีกฝั่ง (ฟังให้เข้าใจ แต่ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยกับทุกอย่าง)

– การสร้างกระบวนการการมีส่วนร่วม – ทำให้คนที่เห็นต่างกันมีส่วนร่วมในองค์กรได้ (ระวัง อย่าทำ Youth Washing คือการเอาคนรุ่นใหม่มามีส่วนร่วม แต่สุดท้ายไม่เอาข้อเสนอมาพิจารณาจริงๆ)

– การปฏิบัติในฐานะคนเท่ากัน – คนรุ่นใหม่จริงๆ ไม่ได้ต้องการให้คนรุ่นก่อนมอบสิทธิพิเศษให้ แต่ต้องการถูกมองว่าเป็นหุ้นส่วน/ทำงานด้วยกัน (Meaningful Participation)

Leader ที่ดีควรจะต้องมีคุณสมบัติยังไงบ้าง?

– ฟังให้กว้าง (ปัจจุบันคนมีความเห็นที่แตกต่างกันมากขึ้น และคนใน Social Media เรามักจะเจอคนที่คิดเหมือนเราจากการแสดงของ Algorithm)

– พูดให้ชัด (ถ้าไม่ชัดคือคนแต่ละคนอาจจะตีความไม่เหมือนกัน)

– ทำให้ดู

– ยืดหยุ่นให้ได้ (สิ่งที่คุ้ยเคยในไม่กี่เดือนที่ผ่านมา อาจจะเปลี่ยนแปลงไปหมดเลย)

– ตามให้ทัน (ทำให้ตัวเองเป็นน้ำไม่เต็มแก้ว เรียนรู้เรื่องใหม่ๆ ตลอดเวลา)

– นำให้เป็น (เวลาต้องตัดสินใจเรื่องยากๆ ต้องชั่งดีๆ ระหว่างฟังความเห็นทุกคน และตัดสินใจบนพื้นฐานของข้อมูลที่เราคิดว่าเป็นประโยชน์ที่สุด)

– ลุกให้เร็ว (การมองว่าความล้มเหลวเป็นเรื่องปกติ เราคงไม่ได้ทำทุกสิ่งให้สำเร็จได้ซะทุกอย่าง)

Leave a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Scroll to Top