ช่วงเทศกาลเลือกตั้งผู้ว่ากทม. กำลังใกล้เข้ามา คำถามที่ชาวกรุงเทพทุกๆ คนน่าจะมีอยู่ในใจคือ “จะเลือกคนไหนดี?”
ในโพสต์นี้ ผมจะขอเอาหลักคิดที่ผมใช้ในการเลือกผู้ว่าของผมมาเขียนแชร์ (โดยที่ในโพสต์จะไม่ชี้นำว่าผมจะเลือกใครนะครับ 😂)
หลักคิดนี้ผมเรียนรู้มาจากคุณ Jeff Bezos แห่ง Amazon
ใครเคยอ่านหนังสือหรืออ่านประวัติของเฮีย Jeff น่าจะพอรู้หลักการนี้แล้ว ซึ่งก็คือ The Regret Minimization Framework ครับ
ว่าง่ายๆ คือการเลือกผู้ว่าที่จะทำให้ตัวเราเองเสียใจน้อยที่สุดเมื่อมองมาจากอนาคต
แล้วจะรู้ได้ยังไงว่า Candidate คนไหนจะทำให้เราเสียใจน้อยที่สุดถ้าเลือกเขาเข้ามา?
จริงๆ ต้องบอกว่า Candidate ทุกคนก็เป็นคนธรรมดาคนหนึ่ง และใครก็แล้วแต่ที่ได้เป็นผู้นำย่อมไม่สามารถทำให้ทุกคนชอบได้ทุกครั้ง (If you want to make everyone happy, don't be a leader, sell ice cream! – Steve Jobs)
Candidate ทุกคนมีโอกาสที่จะทำไม่ได้ตามที่เขาบอกไว้หรือตามที่เราคาดหวัง และทำให้เราเสียใจได้ด้วยกันทั้งนั้น
แต่เราสามารถจำกัดโอกาสที่จะเกิดความเสียใจได้โดยดูจากประสบการณ์ สิ่งที่เขาทำมาในอดีต นโยบายที่เขาจะทำในอนาคต
ใครที่เคยทำเราผิดหวังมา มีโอกาสที่เขาจะทำเราผิดหวังอีก… เราจะไม่เลือก
ใครที่ขายความคิดตัวเองไม่ได้ ตอบคำถามเกี่ยวกับอดีต ปัจจุบัน และอนาคต ของกทม. ได้ไม่ดีพอ…เราจะไม่เลือก
ใครที่นโยบายขายฝัน แต่ดูทรงแล้ว มีโอกาสทำตามที่ขายไว้ไม่ได้…เราจะไม่เลือก
เราเลือกไม่ได้ว่า Candidate แต่ละคนพอเข้ามาเป็นผู้ว่าแล้วจะ Take Action ยังไงบ้าง แต่การจัดการความคาดหวังของตัวเองเพื่อให้เรามีโอกาสน้อยที่สุดที่จะเสียใจ ยังพอเป็นไปได้อยู่ครับ
มาเลือกผู้ว่าคนที่จะมีโอกาสน้อยที่สุดที่จะทำให้คุณเสียใจกันนะครับ 🙂