5 ขั้นตอนเพื่อให้ได้ทุกสิ่งที่ต้องการในชีวิต

Featured Image productivity 5 steps to get whatever you want in life update

ผมพึ่งได้อ่านหนังสือชื่อว่า Principles (ผมแปลเป็นไทยว่า “หลักการของชีวิต”) ของ Ray Dalio มา และมีส่วนหนึ่งในหนังสือที่ผมคิดว่าน่าสนใจและอยากเอามาเขียนแชร์

ซึ่ง Ray บอกว่า ไม่ว่าจะเป็นชีวิต ธุรกิจ หรือการลงทุนนั้น ทุกอย่างสามารถจัดการให้เป็นระบบได้ และถ้าคุณอยากจะได้สิ่งไหน ให้เอา Framework ที่มี 5 ขั้นตอนนี้ไปจับ จะทำให้คุณได้สิ่งที่คุณต้องการมา

ในบทความนี้ ผมจะมาเล่าให้คุณฟังเกี่ยวกับ Framework ของ Ray พร้อมกับใส่ความคิดเห็นบางส่วนของผมลงไปด้วยนะครับ

หลังจากที่คุณอ่านบทความนี้จบแล้ว คุณจะได้แนวคิดและเครื่องมือที่จะช่วยให้คุณได้ในสิ่งที่คุณปรารถนาได้ง่ายและเร็วยิ่งขึ้นครับ 🙂

5 ขั้นตอนเพื่อให้ได้ทุกสิ่งที่ต้องการในชีวิต

1. Have Clear Goals (มีเป้าหมายที่ชัดเจน)

Ray บอกว่าคุณควรจะต้องจัดลำดับความสำคัญ (Prioritize) เป้าหมายให้ดี และอย่าสับสนระหว่าง Goals (เป้าหมาย) และ Desires (ความต้องการ)

Goals (เป้าหมาย) เป็นสิ่งที่คุณอยากได้จริงๆ แต่ Desires (ความต้องการ) เป็นสิ่งที่คุณอยากได้ ณ ชั่วขณะหนึ่ง พอเวลาผ่านไปไม่นาน (อาจจะแค่ไม่กี่วัน) คุณอาจจะไม่ต้องการมันแล้ว

แล้วก็อย่าไปคิดว่าเป้าหมายที่คุณอยากได้หรืออยากไปให้ถึงนั้นเป็นไปไม่ได้ ให้จำไว้ว่าความคาดหวังที่ยิ่งใหญ่จะเป็นตัวช่วยสร้างสมรรณนะอันใหญ่ยิ่งให้กับคุณ

นอกจากการตั้งเป้าหมายแล้ว ต้องอย่าลืมที่จะนัดการกับความล้มเหลวด้วย เพราะมันเป็นเรื่องสำคัญที่คุณจะลุกขึ้นมาและเดินไปข้างหน้าต่อได้

Note: ถ้าไม่รู้ว่าเป้าหมายจริงๆ คุณคืออะไร ผมแนะนำให้ลองไปอ่านบทความว่าด้วยเรื่องของการเขียน Personal Mission & Personal Vision Statement ที่ผมเคยเขียนไว้ครับ นอกจากนั้นแล้วคุณยังสามารถเข้าไปอ่านกับวิธีการจัดการกับสภาพจิตใจของตัวเองตอนที่พ่ายแพ้ได้ที่นี่ด้วยครับ

2. Identify and don’t tolerate problems (ระบุปัญหาและอย่าฝืนทนกับมัน)

ปัญหาคือสิ่งที่ทำให้คุณรู้สึกไม่พอใจ ไม่สบายใจ หรือไม่สะดวกใจ

สิ่งที่คุณควรทำคือการมอง “ปัญหา” เป็น “โอกาส” พยายามอย่าที่จะหลบเลี่ยงปัญหาเพียงเพราะมันดูแก้ไขยาก

คุณควรจะต้องระบุปัญหาออกมาให้ชัด และดูว่าปัญหานั้นๆ เป็นสิ่งที่คุณแก้เองได้รึเปล่า ถ้าแก้เองได้แต่ตอนนี้คุณยังไม่มีทักษะมากพอ ก็ฝึกฝนมัน แต่ถ้าปัญหานั้นเป็นสิ่งที่คุณแก้ด้วยตัวเองไม่ได้ก็ต้องขอความช่วยเหลือจากคนอื่นให้มาแก้ให้

นอกจากนั้นแล้วการแยกปัญหาใหญ่ๆ ออกจากปัญหาเล็กๆ เป็นเรื่องสำคัญ เพื่อที่คุณจะได้มีพลังไปโฟกัสกับการจัดการแก้ไขปัญหาใหญ่ๆ และในขณะเดียวกันก็ไม่ปล่อยปละละเลยปัญหาเล็กๆ ให้มันกลายเป็นปัญหาใหญ่ๆ อีกด้วย

และที่สำคัญที่สุด (ตามหัวข้อเลย) เมื่อระบุปัญหาได้แล้ว อย่ากล้ำกลืนฝืนทนกับมัน ให้แก้ไขซะ!

3. Diagnose problems to get at their root causes (วิเคราะห์ปัญหาเพื่อที่จะไปให้ถึงสาเหตุที่แท้จริง)

เมื่อรู้ถึงปัญหาแล้ว อย่าพึ่งตรงดิ่งไปแก้ไขมัน แต่ให้วิเคราะห์ปัญหาให้ดีก่อน (ไม่อย่างนั้นปัญหาก็อาจจะไม่ถูกแก้)

แยกมูลเหตุใกล้ชิด (ภาษาอังกฤษเขาเขียนว่า Proximate Causes) ออกจากต้นตอของปัญหา (Root causes) ซึ่งมูลเหตุใกล้ชิดมักจะถูกอธิบายด้วยคำกิริยา (Verb) แต่ต้นตอของปัญหามักถูกอธิบายด้วยคำคุณศัพท์ (Adjective)

เช่น ฉันตกรถไฟเพราะฉันไม่ได้ตรวจสอบตารางเวลา (ตรวจสอบคือ Verb) ปัญหานี้เลยเป็นแยกมูลเหตุใกล้ชิด

ฉันตกรถไฟเพราะฉันขี้ลืม (ขี้ลืมคือ Adjective) ปัญหานี้เลยเป็นต้นตอของปัญหา

สุดท้ายสิ่งสำคัญในข้อนี้คือการมองตัวเองและผู้อื่นอย่างตรงไปตรงมา (อย่าให้อีโก้มาบดบังการวิเคราะห์ปัญหาของคุณ)

4. Design a plan (วางแผน)

ศึกษาอดีตก่อนที่จะเดินทางไปสู่อนาคต เพราะสิ่งที่คุณเป็น ปัญหาที่คุณมี เกิดจากผลผลิตในอดีตของคุณ

และจำไว้ว่ามันมีเส้นทางให้คุณเลือกเดินหลายเส้นทางในการไปถึงเป้าหมาย

เมื่อถึงเวลาวางแผน ให้คุณคิดภาพเหมือนสคริปของหนังที่คุณจะมองเห็นว่าใครจะทำอะไรในช่วงเวลาต่างๆ โดยที่ให้เริ่มจากภาพใหญ่ก่อนและค่อยแตกลงรายละเอียดย่อยๆ

สิ่งสำคัญคือการเขียนแผนออกมาให้ตัวคุณเองเห็น (และอาจจะให้คนอื่นๆ เห็นด้วย) เพื่อที่คุณจะได้ระลึกได้ว่าคุณอยากได้อะไร และต้องทำอะไรบ้าง (การเขียน New Year's Resolution ช่วยได้)

สิ่งสำคัญที่คุณควรจะต้องจำไว้คือมันใช้เวลาไม่นานในการออกแบบแผนที่ดี (เมื่อเทียบกับการลงมือทำ) เพราะฉะนั้นมันเป็นเรื่องที่ดีที่คุณจะใช้เวลากับการวางแผนมากกว่าการที่คุณลงมือทำไปเลย (เพราะเอาจริงๆ วิธีนี้มันเสียวเวลามากกว่ามาก)

5. Push through to completion (ผลักดันสิ่งต่างๆ ให้สำเร็จ)

คำศัพท์ในวงการ Startup ที่มักถูกพูดอยู่บ่อยๆ คือ “Ideas are cheap, execution is everything (ไอเดียเป็นของราคาถูก สิ่งสำคัญคือการลงมือทำ)” นั้นเป็นจริงกับทุกๆ เรื่อง

คนที่วางแผนได้เก่งแต่ไม่ลงมือทำตามแผนก็จะไปไม่ถึงไหน

ซึ่งนอกจากที่คุณจะต้องลงมือทำแล้ว คุณควรจะต้องลงมือทำภายใต้ Work Habit (นิสัยในการทำงาน) ที่ดีอีกด้วย เพราะนิสัยที่ดีที่คุณทำในทุกๆ วันจะเป็นสิ่งที่สร้างความเปลี่ยนแปลง

นอกจากเรื่องนิสัยในการทำงานแล้ว คุณควรที่จะสร้างตัวชี้วัดที่ชัดเจนเพื่อทำให้คุณทำสิ่งต่างๆ ได้ตามที่วางแผนไว้ ซึ่งในเรื่องนี้ การใช้เครื่องมืออย่าง OKR (Objective & Key Results) สามารถช่วยคุณได้

สรุป

จริงๆ แล้ว Framework ที่ Ray แนะนำนั้นเป็น Logic ที่ Simple มากๆ แต่เอาเข้าจริงตอนทำตามก็ไม่ใช่เรื่องง่าย ทั้งนี้ผมคิดว่าการที่เรามี “Principles” หรือ “หลักการใช้ชีวิต” นั้นมันก็คงดีกว่าการที่เพ้อฝันว่าอย่างได้นู่นนี่นั่น แต่ไม่สามารถลงมือทำเพื่อไขว่คว้ามันมาได้จริงๆ แน่ๆ

หนังสือ Principles เล่มนี้มีเล่มแปลไทยโดยพี่ลิงค์ จอมทรัพย์ CEO ของ Exzy อยู่ด้วย คุณลองไปค้นหาใน Google หรือหาตามร้านหนังสือชั้นนำได้ครับ 🙂

Leave a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Scroll to Top