The Media Pyramid: ทำความรู้จักกับอาหารสมองของคน

Featured Image productivity the media pyramid update

สมองคนก็เหมือนกับกระเพาะ ที่ต้องบริโภคอาหารอยู่เสมอๆ เพียงแต่สิ่งที่สมองบริโภคนั้นไม่ใช่ของกิน แต่เป็นสื่อ

เวลากินข้าว ถ้าคุณกินแต่ของแย่ๆ เช่น Fast Food, ของทอด หรือของที่ใส่วัสดุกันเสียเยอะๆ มันก็จะไม่ดีกับร่างกายของคุณ

เช่นเดียวกัน ถ้าสมองของคุณเสพแต่สื่อแย่ๆ สมองของคุณก็จะแย่ไปด้วย ซึ่งสิ่งที่ร้ายกว่านั้นคือสมองของคุณจะเป็นตัวกำหนดอะไรอีกหลายๆ อย่าง ไม่ว่าจะเป็นการกิน การทำงาน การใช้ชีวิต และอื่นๆ

และยิ่งปัจจุบันนี้สื่อที่มีให้คุณเสพนั้นมีมากมายเพิ่มขึ้นอย่างมากมาย คำถามก็คือแล้วคุณจะรู้ได้ยังไงว่าสมองของคุณควรจะต้องเสพสื่อแบบไหนดี?

บทความนี้จะมาแนะนำแนวทางการเสพสื่อให้ผ่าน The Media Pyramid ครับ 🙂

รู้จักกับ The Media Pyramid

ผมได้ไปค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติมเรื่องนี้มา แล้วเจอรูปภาพนึงชื่อว่า The Media Pyramid ที่ทำขึ้นมาโดยคนที่ชื่อว่า Faris ซึ่งผมคิดว่าน่าสนใจดีและอยากเอามาขยายความให้ได้อ่านเพิ่มเติมครับ

the media pyramid
Created by Faris

The Media Pyramid ได้แบ่งประเภทของสื่อที่คนเสพออกเป็น 6 รูปแบบ

Note: ผมเข้าใจว่า The Media Pyramid อันนี้เป็นคำแนะนำในการเสพสื่อของคุณเวลาที่คุณว่างนะครับ เวลาทำงานหรือเวลานอนจะไม่ถูกเอามารวมในคำแนะนำนี้ครับ

1. In-toxic-cation

In toxic cation

รูปแบบแรกคือ In-toxic-cation ที่แปลง่ายๆ ว่าคือรูปแบบที่เป็นพิษต่อสมอง

สื่อหรือคอนเทนต์ในรูปแบบนี้ได้แก่เนื้อหา Clickbait ต่างๆ ที่ชอบตั้งชื่อหัวข้อบทความอย่างหรู แต่พอคลิกเข้าไปดูกลับไม่มีเนื้อหาอะไร คุณมักจะพบเห็นเนื้อหาแนวนี้บ่อยๆ ในสื่อ Clickbait (ที่ในเนื้อหาจะเต็มไปด้วยโฆษณา)

สาเหตุที่สื่อเหล่านี้เป็นพิษต่อสมองของคุณนั้นเป็นเพราะเนื้อหาเหล่านั้นนั้นเพียงแค่กระตุ้นความอยากรู้อยากเห็นของคุณ บางครั้งเนื้อที่อยู่ในสื่อเหล่านั้นอาจจะเป็นสิ่งที่ไม่จริงด้วย

ลองสำรวจตัวเอง ถ้าคุณเสพสื่อประเภทนี้บ่อย ผมแนะนำให้คุณ Block สื่อเหล่าออกจากชีวิตของคุณ

2. Consumption

Consumption

รูปแบบที่สองคือ Consumption หรือการเสพสื่อเช่นข่าวหรือโซเชียลมีเดียต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น Facebook, Twitter, Instagram, Tiktok และอื่นๆ

สื่อเหล่านี้ไม่เสพเลยก็ไม่ได้เพราะถ้าเราไม่เสพเราก็อาจจะตกยุค ไม่ทันข่าว แต่สื่อเหล่านี้ถ้าเสพมากไปก็ไม่ดีเช่นกันครับ

จากรูปใน The Media Pyramid บอกว่าสื่อแบบนี้ควรเสพต่อวันไม่เกินครึ่งชั่วโมงครับ (เอาจริงๆ แอบคิดว่ายากอยู่เหมือนกัน ผมเคยตั้งเวลาเล่น Social Media ต่อวันให้ประมาณ 1 ชั่วโมง โดยส่วนมากจะเกินตลอดเลยครับ ฮา)

ลองสำรวจตัวเอง ถ้าคุณเสพสื่อประเภทนี้บ่อย ผมแนะนำให้คุณลองใช้เครื่องมือในการกำหนดเวลาเล่น Social Media เหล่านี้ดู (ทั้ง iOS และ Andriod มีเครื่องมือในการช่วยจำกัดการใช้งานแอป Social Media ต่างๆ เหล่านี้อยู่แล้ว หรือถ้าคุณใช้ Computer หรือ Laptop เข้าแอปเหล่านี้ค่อนข้างบ่อย อาจจะลองไปใช้เครื่องมืออย่าง Rescue time ในการ Track ดูครับ)

อ่านเพิ่มเติม: 16 เครื่องมือที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน

3. Interaction

Interaction

รูปแบบที่ 3 คือ Interaction หรือการปฏิสัมพันธ์และสื่อสารระหว่างคนต่อคนเช่นการ Chat ผ่าน LINE หรือ Messenger หรือการส่งอีเมล

แน่นอนว่ามนุษย์ที่เป็นสัตว์สังคมถ้าไม่เสพสื่อประเภทนี้ก็อาจจะรู้สึกโดดเดี่ยวเดียวดาย เหี่ยวเฉา แต่เช่นเดียวกับสื่อรูปแบบที่ 2 ที่ถ้าเราเสพมากไปก็อาจจะไม่ดี

จากรูปใน The Media Pyramid บอกว่าสื่อแบบนี้ควรเสพต่อวันประมาณ 1 ชั่วโมง

ลองสำรวจตัวเอง ถ้าคุณเสพสื่อประเภทนี้บ่อยแสดงว่าคุณอาจจะใช้เวลาเม้าท์มอยกับเพื่อนเยอะเกินไป หรือไม่ก็อาจจะคุยงานหนักเกินไป

4. Participation

Participation

รูปแบบที่ 4 คือ Participation ซึ่งรูปแบบนี้จะต่างกับ 3 รูปแบบแรกตรงที่ว่าสื่อแบบนี้เป็นสื่อที่คุณเลือกที่จะแบ่งเวลาให้ (ต่างจากทั้ง 3 แบบแรกที่คุณเสพ On a go ระหว่างวัน) เช่นการแบ่งเวลาไปดูหนัง ดู Netflix หรือว่าเล่นเกม หรือดูโชว์ต่างๆ

จากรูปใน The Media Pyramid บอกว่าสื่อแบบนี้ควรเสพต่อวันประมาณ 2 ชั่วโมง

สื่อประเภทนี้ ผมคิดว่าเป็นสื่อประเภทที่ส่วนผสมที่สำคัญสื่อหนึ่งในชีวิตของคุณเพราะสื่อประเภทนี้ช่วยให้คุณคลายเครียดได้ และหลายๆ ครั้งหนังหรือเกมก็มีประโยชน์กับคุณอีกด้วย สิ่งที่ควรระวังก็เป็นเหมือนกับสื่อประเภทอื่นๆ คุณไม่ควรใช้เวลากับมันมากเกินไป (สำหรับเคสนี้ผมเป็นประจำเลยครับ เวลาเจอหนังหรือเกมอะไรสนุกๆ ผมสามารถใช้เวลาไปกับมัน 4-5 ชั่วโมงติดๆ กันได้เลย)

5. Edification

Edification

รูปแบบที่ 5 คือ Edification หรือการเสพสื่อที่มีสาระ ทำให้ชีวิตของคุณพัฒนาขึ้น เช่นการเรียน การอ่านบทวิเคราะห์ ข่าวเศรษฐกิจ หรือพวกสารคดีต่างๆ

จากรูปใน The Media Pyramid บอกว่าสื่อแบบนี้ควรเสพต่อวันประมาณ 3 ชั่วโมง

สื่อประเภทนี้ทำให้คุณพัฒนาขึ้น แต่ในขณะเดียวกันถ้าคุณเสพสื่อแบบนี้มากเกินไปก็อาจจะทำให้คุณเครียดได้ (ลองจินตนาการว่าคุณกลับถึงบ้านแล้วมานั่งเรียนต่อ 3 ชั่วโมงทุกๆ วัน สมองก็คงจะต้องรับภาระหนักมากเกินไป จริงไหมครับ?)

6. Actualization

รูปแบบที่ 6 รูปแบบสุดท้ายคือ Actualization หรือการใช้เวลาไปกับการอ่านหนังสือ พูดคุย การเสพศิลปะต่างๆ หรือสรุปง่ายๆ ว่ากิจกรรมอะไรก็แล้วแต่ที่พัฒนาสมองหรือพัฒนาอารมณ์ทางสุนทรียะ

จากรูปใน The Media Pyramid บอกว่าสื่อแบบนี้ ยิ่งเสพมากเท่าไหร่ ยิ่งดี

Maslows Hierarchy of Needs
via Wikipedia

ผมคิดว่ารูปแบบนี้มีความคล้ายกับลำดับขึ้น Self-Actualization ที่อยู่บนสุดของ Maslow's hierarchy of needs ซึ่งจากความเข้าใจของผมมันคือการตระหนักรู้ว่าคุณต้องการจะทำอะไรกันแน่ในชีวิต (ถ้ามองในเคสต์นี้ก็จะเป็นสื่อแบบไหนกันแน่ที่คุณต้องการจะเสพจริงๆ)

แล้วคุณจะใช้ประโยชน์จาก The Media Pyramid นี้อย่างไร?

ผู้เขียนบอกว่าจริงๆ แล้วส่วนฐานของปิรามิดเป็นส่วนที่สำคัญที่สุด แต่คนส่วนใหญ่มักจะมีวิธีการที่เสพสื่อแบบ Upside Down คือเน้นเสพสื่อทางด้านบนเยอะ

ผมคิดว่า The Media Pyramid อันนี้เป็น Guide ที่ดีอันนึงที่จะช่วยทำให้คุณมี Self-Awareness หรือรู้ดีมากขึ้นว่าสื่อแบบไหนที่ควรเสพ ไม่ควรเสพ และควรเสพในปริมาณเท่าไหร่

ยิ่งคุณสามารถทำให้ตัวเองมาเสพสื่อด้านที่อยู่ตรงฐานปิรามิดได้มากเท่าไหร่ สมองคุณก็จะรับสิ่งดีๆ เข้ามาได้มากยิ่งขึ้นเท่านั้น

สรุป

และนี่คือ The Media Pyramid ที่ผมคิดว่าเป็น Framework ในการเสพสื่อที่น่าสนใจอันนึงนะครับ คุณเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับ Framework อันนี้? หรือมี Framework อื่นที่น่าสนใจที่อยากเอามาแชร์รึเปล่า? มาแบ่งปันกันต่อได้ในคอมเมนต์เลยครับ 🙂

Leave a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Scroll to Top