สุภาษิตที่ว่า “ไม่เลือกงาน ไม่ยากจน” เป็นสุภาษิตที่ผมไม่เห็นด้วยสักเท่าไหร่ ผมคิดว่ามันควรจะเปลี่ยนเป็น “ไม่เลือกงาน ยิ่งยากจน” มากกว่า
ทำไมถึงเป็นแบบนั้น?
จริงๆ แล้วผมมีอยู่ 2 เหตุผลหลักๆ ครับ
เหตุผลแรกคือคนทุกคนไม่ได้เก่งทุกอย่าง ถ้ามีใครที่บอกว่าทำได้หมด ทำได้ทุกอย่าง มีแนวโน้มสูงมากว่าเขาจะทำได้ไม่เด่นสักอย่าง
เหตุผลที่สองคือคนทุกคนมีเวลาต่อวันเท่ากันคือ 24 ชั่วโมง ถ้าเรา Say Yes ก็โอกาสทุกโอกาสที่เข้ามา เป็น Yes (Wo)Man สุดท้ายด้วยเวลาที่จำกัด เราจะถูกบังคับให้ Say No กับเรื่องที่เคย Say Yes ไปก่อนแล้ว (และบ่อยครั้งที่จะต้อง Say No ให้กับเรื่องสำคัญ)
.
.
.
แล้วจะรู้ได้ไงว่าควรจะเลือก Say Yes งานแบบไหน?
ผมมีแนวคิดการเลือกงานมากฝากให้อยู่ 5 ข้อครับ
1. เลือกงานที่เหมาะกับความสามารถ
คนเราไม่ได้เก่งไปซะทุกอย่าง การเลือกทำงานที่ถนัดและเหมาะสมกับความสามารถ จะทำให้ผลงานออกมาดี
2. เลือกงานตามที่ใจอยากทำ
ไม่ว่างานนั้นๆ จะงานสะบายเงินสะดวกแค่ไหน แต่ถ้าไม่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่สนใจและไม่ Align กับ Value ของตัวเอง อย่ารับ
3. เลือกงานตามคุณค่าที่มีในอนาคต
งานบางงานอาจจะต้องทำฟรีหรือทำแบบขาดทุนในตอนนี้ แต่ในอนาคตอาจจะมีกำไร เช่น
- ยอมรับลูกค้าในราคาที่ยังไม่สูงตอนที่เรายังไม่มี Portolio (และในอนาคตจะทำให้สามารถรับงานในราคาที่สูงขึ้นได้)
- ไปเป็น Volunteer ในงาน Conference ซึ่งทำให้คุณได้ Connection (และในอนาคต Connection นี้อาจจะนำมาซึ่งสิ่งดีๆ อื่นๆ)
4. เลือกงานตามความเสี่ยงที่รับได้ของตัวเอง
การลงทุนมีความเสี่ยง การเลือกงานก็มีความเสี่ยงเช่นกัน
บางงานมีความเสี่ยงมาก ยากมาก ผลตอบแทนก็เลยสูงตาม บางงานเสี่ยงน้อย มั่นคง ผลตอบแทนอาจจะได้น้อยกว่า แต่มาเรื่อยๆ ไม่ขาด หรือจะเป็นแนวไฮบริดที่มีทั้งเสี่ยงมากและเสี่ยงน้อยก็สามารถทำได้
5. เลือกงานตามแรงและเวลาที่มี
อย่าโลภ รับมาทุกอย่างแล้วคิดว่าทำไหวและทำได้ดี เพราะอย่างที่บอกไปว่าคนเรามีแรงจำกัด มีเวลาจำกัด อย่างที่สุภาษิตว่าไว้ว่า โลภมาก ลาภมักจะหาย
สรุป
พอจะเห็นแล้วใช่ไหมครับว่าการเลือกงานมันสำคัญยังไง เพราะฉะนั้นถ้าไม่อยากจน ให้เลือกงานกันนะครับ 🙂