80/20 Rules คือกฏที่โด่งดังมากๆ และเป็นที่ยอมรับกันอย่างแพร่หลาย
ในเชิง Productivity มันคือการพยายามโฟกัส ลงทุน ลงแรง ทำใน 20% ที่ทำให้เกิดผลลัพธ์ 80%
เน้นทำในสิ่งที่มี Effectiveness (ทำสิ่งที่ใช่ให้สำเร็จ) มากกว่าแค่ทำสิ่งที่มี Efficiency (ทำสิ่งต่างๆ ให้ได้เยอะๆ)
ซึ่งหลักการนี้มันดูดี และสมเหตุสมผลมากๆ โดยเฉพาะในเรื่องการทำงานที่มี OKR/KPI ชัดเจน
ผมเองก็เชื่อในกฏนี้มาตลอดนะ แต่พอได้มาอ่านบทความ “When the 80/20 Rule Fails: The Downside of Being Effective” ของ James Clear ก็กลับมาทำให้ฉุกคิดเหมือนกัน ว่า เออ จริงๆ แล้วกฏ 80/20 มันไม่ก็ได้เหมาะกับทุกๆ อย่างจริงๆ แหละ
ซึ่งตัวอย่างที่ James Clear ยกมามันเห็นภาพมากๆ ผมขอเอามาเล่าให้ได้อ่านกันในบทความนี้นะครับ
เชื่อว่าคุณอ่านตัวอย่างเหล่านี้จบ แล้วไป Revisit การใช้แรงของคุณ จะทำให้คุณเลือกได้ดีขึ้นแน่ๆ ครับ 🙂
ทำไมกฏ 80/20 ถึงไม่ได้เวิร์คทุกครั้ง?
ตัวอย่างจาก Audrey Hepburn
Audrey Hepburn… ถ้าอ่านแค่ชื่อ ผมว่าอาจจะไม่มีใครรู้จัก แต่ถ้าลองเอาชื่อนี้ไป Google ดู ผมว่าหลายๆ คนน่าจะเคยเห็นหน้าค่าตาเธอมาแน่ๆ
เพราะเธอเป็นหนึ่งในนักแสดงที่โด่งดังที่สุดในยุค 50s และเธอเป็นนักแสดงไม่กี่คนบนโลกที่กวาดทุกรางวัลใหญ่ในโลก Hollywood คือ Emmy Grammy Oscar และ Tony (EGOT) และที่เจ๋งกว่านั้นคือ 4 รางวัลนี้มาจากหนังเรื่องเดียวคือ Roman Holiday
ทุกๆ คนในยุคนั้นคาดการณ์ไว้ว่าเธอจะเป็น Movie Star ไปอีกหลายสิบปี
แต่หลักจากอยู่ในโลกการแสดงมาได้สิบกว่าปี เธอก็ช็อคโลกด้วยการหยุดรับงานแสดงซะงั้น และเธอก็ Shift ไปทำงานสายสังคมแทน โดยที่เธอไปช่วยเหลือเด็กด้อยโอกาสตามประเทศต่างๆ และเธอก็ทำสิ่งนี้ต่อไปอีก 20 กว่าปี
ถ้าว่าตามกฏ 80/20 แล้ว สิ่งที่เธอควรทำตอนที่เธอกำลังโด่งดังถึงขีดสุดกับหนังสาย Romantic Comedies ก็คือการหาหนังสาย Romantic Comedies เล่นต่อ หรืออาจจะต่อยอดไปเล่นหนังสายอื่นๆ ที่ใกล้เคียงก็ได้
แต่เหมือนเธอจะรู้ตัวว่า “ชีวิต” เธอไม่ได้ต้องการแบบนั้น “ชีวิต” ของเธอ อยากจะอุทิศให้กับการช่วยเหลือผู้อื่น
แม้ตอนแรกๆ คนอาจจะงงว่าทำไมเธอทำแบบนั้น และผลลัพธ์ (ที่เกิดขึ้นกับตัวเธอ) ก็ไม่ได้จะยิ่งใหญ่กว่างานแสดงของเธอเลย
แต่สุดท้ายในปี 1992 เธอนั้นก็ได้รับรางวัล the Presidential Medal of Freedom ซึ่งเป็นรางวัลที่สูงที่สุดที่ประชาชนคนนึงจะได้รับใน US
อีกตัวอย่างจากคนที่ทุกคนน่าจะรู้จัก
ตัวอย่างนี้คือตัวอย่างของ Jeff Bezos ผู้ก่อตั้ง Amazon (ที่ไม่ได้ขายกาแฟ 😂)
ในช่วงเริ่มต้นของอาชีพ Jeff ทำงานสายการเงินใน Wall Street และทำได้ดีมากๆ จนเขาสามารถไต่เต้าเป็น Senior VP ของบริษัท Hedge Fund แห่งหนึ่ง
ในตอนนั้น ถ้า Jeff เอากฏ 80/20 ไปใช้ แน่นอนว่าสิ่งที่เขาควรทำคือการไต่เต้าในสายการเงินขึ้นไปเรื่อยๆ เพราะเขามีทั้งความรู้ มีทั้งตำแหน่ง ที่จะทำให้การทำงานในสายนี้ต่อเป็นเรื่องที่สมเหตุสมผลเอามากๆ
แต่แน่นอน ทุกคนก็เห็นแล้วว่า Jeff เลือกลาออกมาก่อตั้ง Amazon (พร้อมกับโต๊ะทำงานเล็กๆ หนึ่งตัว) และก็กลายเป็นหนึ่งในผู้ประกอบที่ประสบความสำเร็จที่สุดแห่งยุค
ข้อจำกัดของกฏ 80/20
สิ่งที่ใหม่ที่คุณทำ ทางเลือกใหม่ที่คุณเลือก ในตอนแรกๆ อาจจะดูไม่ดีเท่ากับทางเลือกที่คุณมีอยู่แล้ว
James Clear อธิบายเรื่องนี้ไว้ได้ชัดเจนมากๆ ว่า กฏ 80/20 ช่วยให้เราหาสิ่งที่มีประโยชน์ในอดีต และหาประโยชน์จากสิ่งนั้นเพิ่มเติม แต่ถ้าคุณไม่ต้องการอนาคตที่มีของในอดีตเพิ่มเติม กฏ 80/20 อาจจะไม่ใช่กฏที่เหมาะสบกับคุณที่สุด
ข้อด้อยของความ Effective คือคุณมักจะ Optimize อดีต แต่ที่จะเป็นอนาคต (ประโยคนี้คมมากๆ)
บทสรุป
การทำสิ่งใหม่ๆ เรียนรู้อะไรใหม่ๆ อาจจะดูไม่ Efficient/Effective ในตอนแรก แต่ถ้ามันเป็นสิ่งที่คุณอยากให้มีในอนาคตของคุณ หรือเป็นสิ่งใหม่ๆ ที่คุณอยากจะทดลอง การทำ 80 เพื่อให้ได้ผลลัพธ์แค่ 20 ในช่วงแรกๆ ก็เป็นเรื่องที่ยอมรับได้
สุดท้ายแล้ว ก่อนจะ “เก่ง” ทุกคนต้องเคย “กาก” มาก่อนทั้งนั้นแหละ 🙂
อ้างอิง: https://jamesclear.com/the-downside-of-being-effective