6 ขั้นตอนเริ่มต้นทำธุรกิจ E-commerce ให้สำเร็จ

Featured Image ways to build successful ecommerce business

รู้หรือไม่? ประเทศไทยติดอันดับ 1 ใน 6 ที่มีการช้อปปิ้งออนไลน์มากที่สุดในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่าน และยังพบว่าแนวโน้มที่จะผันไปสู่การใช้แพลตฟอร์มการซื้อขายสินค้าและบริการผ่านทางออนไลน์ก็ยังสูงขึ้นไปอีกเรื่อยๆ

เราจึงปฏิเสธไม่ได้ว่าตอนนี้อินเทอร์เน็ตได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันของทุกคนไปแล้ว โดยเฉพาะในแง่ของการทำธุรกิจ E-commerce

ใครๆ ต่างก็มีความอยากที่จะประสบความสำเร็จในการทำธุรกิจ แต่คำถามที่สำคัญคือ แล้วจะทำยังไงให้ประสบความสำเร็จในการทำธุรกิจ E-commerce กันล่ะ?

ในบทความนี้ ผมจะมาแชร์ทริคดีๆ กับ 6 ขั้นตอนสำหรับคนที่สนใจเริ่มต้นหรือคนกำลังทำธุรกิจ E-commerce

อ่านบทความนี้จบ คุณอาจจะได้เคล็ดลับดีๆ เพิ่มลง Checklist ในแผนธุรกิจของคุณก็ได้ครับ 🙂

E-commerce คืออะไร?

E-commerce (อีคอมเมิร์ซ) คือ การดำเนินธุรกิจซื้อขายสินค้าและบริการผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต หรือพูดง่ายๆ ก็คือการซื้อขายแบบออนไลน์

โดยสิ่งที่สามารถขายผ่าน E-commerce นั้นก็ไม่ได้จำกัดว่าจะต้องสินค้าประเภทไหนโดยเฉพาะ คุณสามารถขายได้ทั้งสินค้าที่จับต้องได้ เช่น เสื้อผ้า เครื่องใช้ไฟฟ้า สินค้าอุปโภคบริโภคทั่วไป เป็นต้น ทั้งสินค้าที่จับต้องไม่ได้หรือสินค้าดิจิทัล เช่น เพลง หนัง รูปภาพ ไอเทมในเกม เป็นต้น หรือแม้กระทั่งบริการต่างๆ เช่น โรงแรมที่พัก Voucher ร้านอาหาร เป็นต้น

6 ขั้นตอนเริ่มต้นทำธุรกิจ E-commerce ที่เหมาะสม

1. ศึกษาตลาดและสินค้าที่สนใจ

“ติดกระดุมผิดตั้งแต่เม็ดแรก เม็ดต่อไปก็จะผิดตามเช่นกัน”

ก้าวแรกมักเป็นก้าวที่ยากที่สุดเสมอ โดยเฉพาะการเริ่มต้นกับคำถามง่ายๆ อย่าง “เราจะขายอะไร?”

เป็นคำถามที่ดูเหมือนจะหาคำตอบได้ไม่ยาก แต่แท้จริงแล้วปัญหานี้มักเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้หลายคนพลาดโอกาสในการเริ่มต้นธุรกิจ E-commerce

สิ่งที่สำคัญคือการเฟ้นหาสินค้าที่จะดึงดูดให้คนหันมาสนใจร้านคุณ เช่น มองหากลุ่มสินค้าที่กำลังเป็นกระแส หรืออาจเป็นสินค้าที่หาได้ยากบนแพลตฟอร์มตลาดสินค้าออนไลน์

ดังนั้น การศึกษาตลาดและสินค้าสำหรับการทำธุรกิจ E-commerce ให้สำเร็จนอกจากจะเป็ฯก้าวแรกแล้ว ก็ยังเป็นก้าวพื้นฐานที่สำคัญอีกด้วย

2. ทำความรู้จักคู่แข่ง

“รู้เขารู้เรา รบร้อยครั้งชนะร้อยครา” – ซุนวู

ถ้าข้อแรกเป็นเหมือนการก้าวเท้าซ้ายออกจากบ้าน ขั้นตอนนี้ก็ไม่ต่างอะไรจากการก้าวเท้าขวาอย่างมั่นคงครับ

นอกจากจะต้องเลือกสินค้าและศึกษาตลาดของสินค้าแล้ว การทำความรู้จักคู่แข่งก็เป็นหัวใจพื้นฐานที่สำคัญเช่นเดียวกัน

การศึกษาข้อมูลคู่แข่งอย่างละเอียดจะช่วยให้คุณรู้ว่าจะต้องกำลังเผชิญกับอะไรหรือกับใคร และนั่นจะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการหาแนวทางเพื่อสร้างความแตกต่างของธุรกิจให้เหนือจากคู่แข่ง

โดยเฉพาะในกรณีที่ทำธุรกิจในแบบ Offline อยู่แล้วและสนใจจะหันมาทำธุรกิจในตลาดบนแพลตฟอร์ม Online บ้าง คุณก็จะได้เจอกับคู่แข่งหน้าใหม่ วิธีการทำการตลาดแบบใหม่ที่ไม่คุ้นชิน

คุณเองก็อาจเริ่มต้นด้วยการสำรวจด้วยคำว่าถามง่ายๆ อย่างเช่น เขาใช้ Business Model แบบไหน? กลุ่มเป้าหมายคือใคร? สินค้าหลักของคู่แข่งมีอะไรบ้าง? ใช้ช่องทางโซเชียลมีเดียเพื่อโปรโมตสินค้ากี่ช่องทาง? เป็นต้น

3. เลือกแพลตฟอร์ม E-Commerce ที่เหมาะสม

หลังจากเลือกสินค้าและได้ศึกษาคู่แข่งในตลาดแล้วก็ได้ฤกษ์ในการสร้างร้านค้าของคุณเองแล้วครับ

เมื่อพูดถึงการสร้างร้านค้าออนไลน์แล้วก็คงหนีไม่พ้นการสร้างเว็บไซต์ แน่นอนว่าหลายคนที่เพิ่งเริ่มทำธุรกิจก็อาจยังไม่มีต้นทุนในส่วนนี้มากนัก

ทางออกที่ดีก็คือการเลือกใช้บริการกับแพลตฟอร์มที่มีเว็บไซต์สำเร็จรูปที่พร้อมใช้งานได้เลยนั่นเอง

การเลือกแพลตฟอร์มประเภทนี้อย่างเช่น LnwShop Pro  ก็จะช่วยให้การสร้างร้านและจัดการระบบหลังบ้านของร้านค้าของคุณง่ายขึ้น

นอกจากนี้ยังมี Template ตกแต่งหน้าเว็บไซต์ที่เริ่มต้นใช้งานได้เลย และยังมาพร้อมกับเครื่องมือดูแลระบบหลังร้านที่ใช้งานง่ายทั้งในแง่ของระบบการซื้อขายหรือการทำ SEO เพื่อให้ติดอันดับบนหน้า Google

4. ผลิตคอนเทนต์ที่โดดเด่นไม่ซ้ำใคร

ไม่ว่าแบรนด์ของคุณขายสินค้าประเภทอะไร หนึ่งสิ่งที่ขาดไม่ได้เลยคือการแสดงให้ลูกค้าเห็นว่าทำไมพวกเขาควรเลือกซื้อสินค้าจากคุณแทนที่จะซื้อกับเจ้าอื่น

และนั่นทำให้การทำคอนเทนต์เพื่อนำเสนอคุณค่าของสินค้าหรือการทำ Product Content เป็นหัวใจสำคัญในขั้นตอนนี้

เมื่อพูดถึงการผลิตคอนเทนต์เกี่ยวกับสินค้านั้นอาจจะฟังดูไม่ยากเท่าไหร่ แต่ความจริงแล้วกลับเป็นขั้นตอนที่ต้องใส่ใจมากที่สุด

เพราะตลาด E-commerce มาพร้อมกับการแข่งขันบนโลกออนไลน์ที่เต็มไปด้วยเนื้อหามากมาย ไม่ว่าจะเป็นคอนเทนต์ที่เป็นคู่แข่งของสินค้าคุณโดยตรง หรืออาจจะเป็นคอนเทนต์จากธุรกิจประเภทอื่นๆ ที่พร้อมจะแย่งความสนใจจากกลุ่มเป้าหมายของคุณตลอดเวลา

ดังนั้น การสร้าง Product Content จึงเป็นขั้นตอนที่คุณควรลงทุนเพื่่อให้ได้เนื้อหาที่คุณภาพสูงและมีความหลากหลาย แปลกใหม่ ไม่ว่าจะเป็นการรวบรวม Insight จากการวิเคราะห์ข้อมูลลูกค้า การศึกษาว่าคู่แข่งของคุณกำลังทำอะไร รวมถึงการเรียนรู้จากแคมเปญก่อนหน้าเพื่อสร้างกลยุทธ์ Content Marketing ที่ตรงเป้าหมายมากขึ้นสำหรับธุรกิจขนาดเล็กของคุณนั่นเอง

5. สร้างฐานลูกค้าแบบเฉพาะกลุ่มของแบรนด์

หนึ่งในขั้นตอนที่สำคัญที่สุดแต่มักถูกมองข้ามในการทำธุรกิจ E-commerce ให้ประสบความสำเร็จคือ กลุ่มผู้ติดตามแบบเฉพาะกลุ่ม (Niche Audience) ที่หลงใหล ตื่นเต้น และชื่นชอบผลิตภัณฑ์ที่ไม่เหมือนใครที่แบรนด์คุณเป็นคนนำเสนอ

เคล็ด(ไม่)ลับที่อาจเป็นแนวทางให้กับธุรกิจของคุณได้ก็คือ การทำความเข้าใจกลุ่มเป้าหมายแบบเฉพาะกลุ่มและโฟกัสไปที่ความพยายามในการดึงดูดพวกเขา แทนที่จะพยายามดึงดูดผู้ชมจำนวนมากจากแพลตฟอร์มขนาดใหญ่จาก Search Engine

พูดอีกอย่างก็คือ คุณอาจกลับมาสนใจกับการคัดกรองผู้ชมเฉพาะกลุ่มสำหรับธุรกิจขนาดเล็กของคุณ ทำความเข้าใจประเด็นปัญหาและความสนใจของพวกเขา และวางตำแหน่งแบรนด์ของคุณให้ตรงกับความต้องการของกลุ่มผู้ติดตามเหล่านั้น

แต่การเลือกโฟกัสกลุ่ม Niche Audience นั้นก็ไม่ได้แปลว่าคุณจะไม่สามารถขยายฐานลูกค้าได้ แต่เป้าหมายในช่วงเริ่มต้นก็คือการทำให้ผลิตภัณฑ์ของคุณมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวและทำการตลาดเพื่อดึงดูดผู้ชมที่มีแนวโน้มที่จะจะกลายเป็นลูกค้าในอนาคตของแบรนด์ได้มากขึ้น

หัวใจสำคัญของกลยุทธ์นี้คือ การสร้างความภักดีของลูกค้า (Brand Loyalty) และเพิ่มลูกค้าประจำ ถือเป็นความลับสู่ความสำเร็จในธุรกิจ E-commerce นั่นเองครับ

6. จัดเตรียมการบริการลูกค้าให้ดีเยี่ยม

 “เป้าหมายของธุรกิจคือการดึงดูดและรักษาลูกค้าเอาไว้”

นอกจากการซื้อขายสินค้าที่มีคุณภาพแล้ว ความคาดหวังของลูกค้าในแง่ของประสบการณ์นั้นก็เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วเช่นกัน และนั่นคือเหตุผลที่คุณต้องพยายามปรับปรุงความพึงพอใจของลูกค้าครับ

เมื่อมองในมุมแบบเอาใจเขามาใส่ใจเรา หากคุณอยู่ในสถานะลูกค้าที่กำลังประสบปัญหาบางอย่างหรือมีข้อสงสัยในตัวสินค้าของแบรนด์ใดแบรนด์หนึ่ง การได้รับบริการที่ล่าช้าหรือบกพร่องก็คงทำให้คุณไม่แฮปปี้และเริ่มไม่ไว้วางใจที่จะซื้อสินค้าและบริการกับแบรนด์ใช่ไหมครับ?

ฉันใดก็ฉันนั้น การบริการลูกค้าที่เป็นเลิศ แม้จะเป็นในส่วนของบริการหลังการซื้อขายเองก็มีความสำคัญต่อความสำเร็จในระยะยาวของธุรกิจ E-commerce ไม่ว่าจะเป็นสร้างเนื้อหาเพื่อบริการในขั้นเบื้องต้นอย่างหน้าเพจสำหรับคำถามที่พบบ่อยโดยละเอียด การบริการแบบ Live Chat กับลูกค้า หรือการสร้างแรงจูงใจให้ลูกค้าอยากรีวิวสินค้าของคุณมากขึ้น

สรุป

และนี่คือ 6 ขั้นตอนที่จะช่วยให้ร้านของคุณกลายเป็นร้านที่ดูทรงคุณค่า มีความคุ้มค่าในการดึงดูดลูกค้า ทั้งคนซื้อในครั้งแรกและลูกค้าที่จะกลับมาซื้อซ้ำอีกครั้ง โดยเฉพาะกลุ่มหลังที่จะกลายมาเป็นลูกค้ากลุ่มสำคัญของแบรนด์คุณนะครับ

ลองทำตามขั้นตอนเหล่านี้ดู คุณจะขายของได้ดีขึ้นแน่ๆ ครับ 🙂

หมายเหตุ: บทความนี้ได้รับการสนับสนุนโดย LnwShop Pro : ระบบการสร้างเว็บไซต์ที่ช่วยให้คุณมีเว็บขายของอย่างง่ายๆ

Leave a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Scroll to Top